ประเภทของแบตเตอรี่

ประเภทของแบตเตอรี่

แบตเตอรี่ที่นิยมใช้ในประเทศไทยจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันตามความต้องการและการใช้งานของผู้ใช้ แบ่งเป็นแต่ละชนิด ดังนี้


  1. ชนิดเติมน้ำ (Conventional) คือแบตชนิดที่ต้องเติมน้ำกลั่นลงไป เมื่อเราใช้รถเรื่อยๆไม่ควรให้น้ำกลั่นต่ำกว่าขีด Lower และไม่ควรเติมน้ำกลั่นสูงกว่าขีด Upper ระยะเวลาในการเติมน้ำจะขึ้นอยู่กับการใช้งานอาจจะทุกๆ 2-3 เดือนหรือเมื่อแบตอายุใช้งานไปนานแล้วอาจจะต้องเติมทุกๆ 1-2 เดือน แบตชนิดเติมน้ำอีกชนิดคือ ที่เราเรียกแบตไฮบริด แบตชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำกลั่นบ่อยๆระยะเวลาในการเติมน้ำกลั่นประมาณ 2-4 เดือน เมื่ออายุการใช้งานมากขึ้นอาจจะขยับเป็น 1 ถึง 3 เดือนและไม่ควรเติมให้สูงกว่าขีด Upper และไม่ให้ต่ำกว่าขีด Lower มัน

  2. แบตชนิดกึ่งแห้ง (Low Maintenance หรือ Maintenance Free แบตชนิดนี้จะมีสติ๊กเกอร์ปิดบนฝาบนเอาไว้เมื่อลอกสติ๊กเกอร์ออกจะเห็นฝาของแบตเตอรี่สามารถเอาเหรียญไขเพื่อเปิดจุกแบตได้ แบตชนิดนี้ก็ต้องดูแลเรื่องการเติมน้ำกลั่นแต่น้อยกว่าแบตชนิดเติมน้ำราคาอาจจะสูงกว่าแบบเติมน้ำ ช่างหรือคนส่วนใหญ่เรียกว่าแบตกึ่งแห้งต้องคอยดูแลเติมน้ำกลั่น เมื่ออายุการใช้งานมากขึ้น

  3. แบตเตอรี่ SMF (Sealed Maintenance Free ) หรือแบตแห้ง เป็นแบบปิดสนิทไม่ต้องเติมน้ำกลั่น แบตชนิดนี้ฝาบนแบตเตอรี่จะปิดสนิทเราเรียกว่าแบตแห้งข้างในจะมีน้ำกรดแต่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่นี้ใช้งานได้เลยจนพังราคาค่อนข้างสูงกว่าแบตแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ส่วนใหญ่รถที่จอดติดต่อกันนานๆไม่ค่อยได้ใช้งานเหมาะจะติดตั้งแบตเตอรี่ชนิดนี้มากกว่าแบบที่ 1 และ 2 

  4. แบตชนิด EFB (Enhance Flod Batter ) และ AGM (Absorbent Glass Mat Battery) แบต 2 ประเภทนี้เป็นแบตชนิด smf หรือแบตแห้งฝาปิดสนิทไม่ต้องเปิดเติมน้ำกลั่น เป็นแบตเตอรี่ที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้งานกับรถที่มีระบบ start Stop และระบบไดชาร์จอัจฉริยะ (Alternator Management System ) แบตชนิดนี้ออกแบบแผ่นธาตุข้างในให้แข็งแรงเพื่อรองรับการทำงานในรถที่ต้องสตาร์ทเครื่องบ่อยและรถที่เป็นระบบไดชาร์จไม่ได้ชาร์จไฟตลอดเวลาเรียกว่า EFB หรือ Enhance Flood Battery แบต AGM หรือ Absorbent Glass battery เป็นแบบ SMF ข้างในเป็นใยแก้วไว้ดูดซับน้ำกรดข้างใน น้ำกรดไม่ได้อยู่ในสถานัของเหลว แบตสามารถวางนอนได้ แบตชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นขั้วจมเหมาะกับรถยุโรป ที่ใช้แบตขั้วจมอยู่แล้ว